มาต่อกันที่ Part 2 กับ บทความ อาหารท้องถิ่นแสนอร่อยประจำ 47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกยกให้เป็นของดีประจำเมือง EP.2/5 เรื่องนี้ โดยใน Part ที่ 2 ครั้งนี้ จะรวบรวมเมนูเส้นมาฝากกันเยอะหน่อย เพราะขึ้นชื่อว่าเมนูเส้นเป็นหนึ่งในอาหารญี่ปุ่นที่ใครหลายคนโปรดปราณอยู่แล้ว แต่นอนจากเมนูเส้นของญี่ปุ่นแล้ว ในบทความครั้งนี้ ยังมีเหล่าอาหารท้องถิ่นอีกมากมาย ที่น่าสนใจและเชื่อว่าหลาย ๆ คนยังไม่เคยเห็นอย่างแน่นอน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้น ไปรับชมกันเลยครับ
47 อาหารท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 2
- มอนจายากิ จังหวัด โตเกียว คือ อาหารท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดโตเกียว ที่ถ้าไม่บอกก็อาจจะไม่มีคนรู้ มอนจายากิ จะมีรูปร่างหน้าตาคล้าย ๆ กับพิซซ่าญี่ปุ่น แต่จะทำขึ้นจากแป้งสาลีนำไปละลายน้อยพร้อมผสมเข้ากับเครื่องต่าง ๆ เช่นกะหล่ำปลีกับอาหารทะเล หรือ เนื้อสัตว์ หลังจากนั้นจะนำลงไปย่างบนกระทะเหล็กแบบ เทปปัน แต่ไม่ได้ทำการง่าย ๆ เลย เพราะแป้งที่ยังไม่สุกนั้นจะต้องทำหลังจากที่ผัดเครื่องกับผักเสร็จแล้ว ถึงจะเทแป้งลงไปตรงกลาง พอแป้งเดือดถึงจะนำเครื่องกลับมาผสมอีกที ซึ่งถ้าทำช้าไปหรือผิดขัดตอนก็จะทำให้รสชาติเปลี่ยนและไม่อร่อยได้เลย เป็นอาหารท้องถิ่นของจังหวัดโตเกียวที่เราจะพบได้ตามร้านขาย Odoriyaki หรือ พิซซ่าญี่ปุ่นได้ตามย่านถนนคนเดิน แต่จะมีมากที่สุดก็จะเป็นที่ มอนจาสตรีท ที่จะเป็นร้าน มอนจายากิ โดยเฉพาะ เปิดให้เราเลือกทานมากกว่า 70 ร้าน
- ฮิยาชิ รุ อุด้ง จังหวัด ไซตามะ คือ อุด้งแบบแยกเส้นกับน้ำสไตล์บ้าน ๆ ประจำฤดูร้อนของชาวเมือง ในจังหวัด ไซตามะ เป็นเมนูอุด้งเส้นสด ที่เสิร์ฟมาพร้อมกับน้ำซุปสูตรพิเศษ ที่เป็นน้ำซุปมิโซะ ผสมงาบด และ น้ำตาล มีรสชาติหวานกลมกล่อมกำลังดี ออกเค็มเล็กน้อยเหมาะกับการจุ่มอุด้งลงไป นิยมทานคู่กับเครื่องเคียงอย่าง เทมปุระ และ ผักต่าง ๆ เป็นเมนูอุด้งเย็นที่จะช่วยให้คุณสดชื่นทุกครั้งที่ทานเข้าไป
- นาเมะโร จังหวัด ชิบะ คือเมนูปลาบด ที่เป็นอาหารพื้นเมืองของบริเวณคาบสมุทรโบโซ ที่ทำมาจากเนื้อปลาที่เลาะก้างออกแล้วนำมาบด หลัก ๆ จะใช้ปลา 3 ชนิด ได้แก่ ปลาอาติ , ปลาซันมะ และ ปลาอิวาชิ ซึ่ง 3 ชนิดก็จะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไปจากวัตถุดิบ พอนำมาบดแล้วก็คลุกด้วยมิโซะ ต้นหอม , ใบจิโสะเขียว , ขิง แล้วจึงนำมาทุบอีกที จนได้เนื้อสัมผัสที่เหนียวติดกันเป็นชิ้นเดียว เป็นเมนูที่มีต้นกำเนิดจากชาวประมงที่ไม่มีเวลาแล่ปลา จึงต้องนำมาทุบเพื่อให้ก้างละเอียดแทน แต่พอมาอยู่ในร้านอาหารก็จะนำก้างออกเพื่อให้ได่เนื้อสัมผัสที่ดีที่สุด หากใครแวะไปที่ชิบะ อย่าลืมไปลองทานดันดูนะครับ
- โฮโท จังหวัด ยามานาชิ คือ หนึ่งในเมนูเส้นท้องถิ่นสุดหายาก ที่จะใช้เป็นเส้นแป้งแบบแบนกว้าง หน้าตาคล้ายกับเส้นใหญ่ในบ้านเรา เสิร์ฟมาในหม้อไฟอันร้อนระอุ ส่วนน้ำซุปที่ใช้จะเป็นน้ำซุปมิโสะ พร้อมมีผักต่าง ๆ เป็นเครื่องเคียงเช่น เห็ดชิตาเกะ , ผักกาด , ฟักทอง เป็นต้น เป็นอาหารท้องถิ่นสุดเก่าแก่ที่มีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ยุคเซนโงคุ ที่ใช้เป็นอาหารสำหรับกองทัพ ต่อมาก็กลายมาเป็นอาหารหลักของชาวไร่ เพราะช่วยให้พลังงานได้ดี ทำง่ายและประหยัด จนในที่สุดก็กลายมาเป็นอาหารขึ้นชื่อประจำจังหงัดในที่สุด
- ชิราสุด้ง จังหวัด คานากาว่า คือ เมนูด้งชนิดหนึ่งที่ทำจากวัตถุดิบท้องถิ่นอย่างปลาชิราสุสด ไปวัตถุดิบหลัก พร้อมเสริมเติมแต่งด้วยเครื่องเคียงอีกเล็กน้อย ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เมนูเป็นของขึ้นชื่อประจำเมือง คือความสดของปลาชิราสุดจากทะเลแห่งนี้ อป็นแหล่งที่จะได้ปลาชิราสุรสชาติที่ดีที่สุด จนทำให้วัตถุดิบชนิดนี้ ถูกส่งออกไปขายยันที่ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน คนที่นี่จึงคิดค้นเมนูที่จะชูรสชาติของวัตถุดิบตัวนี้ออกมาให้ได้แบบที่ดี่ที่สุด จนออกมาเป็น ชิราสุด้ง ที่เมื่อคุณมาแล้วต้องห้ามพลาด แต่สำหรับในช่วงเดินมกราคมถึงมีนาคม จะมีการห้ามจับปลาชนิดนี้เพื่อฟื้นฟูปีต่อปี จึงอาจจะหาทานยากกันสักเล็กน้อย หากไปช่วงเวลาดังกล่าว
- เฮกิ โซบะ จังหวัด นีงาตะ คือ โซบะเย็นที่ถูกม้วนเป็นก้อนพอดีคำ เป็นเส้นโซบะที่ใช้ส่วนผสมของสาหร่ายฟุโนริลงมาในกระบวนการทำเส้นด้วย ทำให้เส้นออกเป็นสีเขียวและมีความหนานุ่มมากกว่าปกติ จะเสิร์ฟมาในภาชนะทรงสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า เฮกิ พร้อมน้ำซอสสุดพิเศษกับต้นหอมซอยและคาราชิ หรือ มัสตาร์ดญี่ปุ่น เพื่อใช้แทนวาซาบิ ซึ่งเป็นอะไรทีาเริ่มหาได้ยากแล้วในปัจจุบัน เพราะในอดีตที่แห่งนี้ไม่สามารถปลูกวาซาบิได้ จึงต้องนำสิ่งเหล่านี้มาทดแทนเพื่อทานคู่กับโซบะ
- โทยามะ แบล็คราเมง จังหวัด โทยามะ คือ ราเมงน้ำซุปดำ ที่ปรุงด้วยโชยุและพริกไทยดำ ใช้เส้นราเมงสูตรเฉพาะ และ ทานคู่กับเครื่องเคียงอย่างหมูชาชูเป็นหลัก เดิมที่เป็นเมนูที่ถูกคิดค้นทำให้กับคนงานในที่ต้องการพลังงานมากจากการเสียเหงื่อที่กำลังช่วยฟื้นฟูเมืองหลังสงครามโลก ทำให้เมนูนี้แฝงไปด้วยคุณประโยชน์และมากับรสชาติที่เข้มข้นอย่างลึกซึ้ง
- ปลาโนโดกุโระ จังหวัด อิชิกาว่า คือปลาทะเลสุดหายาก ที่จัดอยู่ในตระกูลของปลากะพง แต่จะไม่มีชื่อเรียกในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับคนที่รู้จักวัตถุดิบชนิดนี้จะเรียกกันว่าปลากะพงคอดำ เป็วัตถุดิบสุดหายากที่จะอาศัยอยู่แน่ในทะเลลึกเท่านั้น และ จะต้องจับแค่ตามฤดูกาลถึงจะได้รสชาติที่ดีที่สุด เป็นปลาที่มีคุณค่าทางโภชนาสูงมาก ๆ นิยมนำมาทานทั้ง แบบ Sashimi และ แบบต้ม
- ซาบะ ซูชิ จังหวัด ฟุคุอิ คือ ซูชิปลาซาบะนี่เอง ซึ่งคนไทยเราจะรู้จักปลาซาบะกันเป็นอย่างดี แต่จะไม่ใช่ในแบบซูชิ เพราะปลาซาบะนั้นค่อนข้างแล่ยากและก้างเยอะ แต่ไม่ใช่กับที่ฟุคุอิ เพราะเมื่อคุณมาถึงที่นี่ สิ่งหนึ่งที่ห้ามพลาดเลยคือซูชิปลาซาบะ แล้วคุณจะบอกว่าเป็นปลาซาบะที่อร่อยที่สุดเท่าที่เคยกินมาได้เลย แล้วอาจจะทำให้คนที่ไม่ชอบปลาซาบะหันมาหลงรักวัตถุดิบชนิดนี้เลยก็ได้
- ชินชู โซบะ จังหวัด นากาโนะแล้วก็ปิดท้าย Ep. นี้กันที่เมนูเส้นอย่างชินโซ โซบะ อาหารท้องถิ่นสุดขึ้นชื่อประจำจังหวัดนากาโนะ ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีความรุ่งเรืองในการผลิตโซบะมาก ๆ จนทำให้เส้นชินชู โซบะ นั้นถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสาม เส้น โซบะที่ดีที่สุดของประเทศญี่ปุ่น มากกว่าการเป็นแค่ของขึ้นชื่อประจำจีงหวัดเสียอีก ซึ่งจุดเด่นของชินชูโซบะ คือ กรรมวิธีในการทำเส้นในรูปแบบที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน จึงทำให้ตัวเส้นมีรสสัมผัสที่ยากจะบรรยาย เป็นเส้นที่มีทั้งความนุ่มนวลความหอม และ รสชาติหวานมันในตัว ส่วนมากจะนิยมเสิร์ฟมาแบบแห้งพร้อมแยกกับน้ำซอสสูตรพิเศษ รสชาติเข้มข้น ใครที่ชื่นชอบโซบะรูปแบบนี้ ยิ่งไม่ควรพลาดของดีจากนากาโนะเมนูนี้เลย
สรุป
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับอีก 10 เมนูเด็ดประจำจังหวัดของประเทศญี่ปุ่นตอนที่ 2 ที่เราได้นำมาฝากทุกคน ผ่านบทความ อาหารท้องถิ่นแสนอร่อยประจำ 47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกยกให้เป็นของดีประจำเมือง EP.2/5 เรื่องนี้ หวังว่าจะถูกอกถูกใจกันทุกคนนะครับ ส่วนในตอนต่อไปต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าสายเนื้อห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะเราจะรวยรวมเหล่าสุดยอดเนื้อ ของจังหวัดต่าง ๆ ในญี่ปุ่นไว้ในตอนหน้า