หากเราพูดถึงอาหารญี่ปุ่น ก็อาจจะเป็นหนึ่งในอาหารที่หลาย ๆ คนนั้นชอบมาก ๆ จนอาจจะถึงขั้นชอบมากที่สุดกันเลย ในสำหรับบางคน แต่หลาย ๆ ท่านรู้กันหรือไม่ว่าอาหารญี่ปุ่น นอกจากจะมี เมนู ซูชิ , ซาชิมิ , และราเมง เป็นของขึ้นชื่อแล้ว ณ ที่แห่งนี้ยังมีเหล่าเมนูอาหารท้องถิ่นอยู่อีกหลายอย่าง ที่เรียกได้ว่ามีกันทุกจังหวัดเลย โดยในวันนี้เราก็จะพาทุกท่านไปรู้จักอาหารเหล่านั้นกันผ่าน บทความ อาหารท้องถิ่นแสนอร่อยประจำ 47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกยกให้เป็นของดีประจำเมือง EP.1/5 เรื่องนี้ ซึ่งรับรองเลยว่าแต่ละอย่างที่เราได้ยกมาในบทความครั้งนี้ มีแต่เหล่าอาหารระดับพรีเมี่ยมที่ประจำจังหวัดที่จะหากินไดเมนูเหล่านี้ได้ดีที่สุด ก็ต้องเป็นสถานที่ประจำถิ่นเท่านั้น ส่วนจะมีเมนูอะไรบ้างเราไปรับชมพร้อม ๆ กันเลยครับ
47 อาหารท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ตอนที่ 1
- เจงกิสข่าน จังหวัด ฮอกไกโด คือเมนูท้องถิ่นยอดฮิตอันดับหนึ่งของจังหวัด ฮอกไกโด หรือ เกาะฮอกไกโดที่เรารู้จักกันนี่เอง สำหรับเจงกิสข่านคือเนื้อแกะย่างบนกระทะทรงกลม หรือ ยากินุกุ ที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวมองโกล จึงได้ชื่อว่า เจงกิสข่าน และ คนที่นี่มีกรรมวิธีการนำเนื้อแกะมาทำอาหารได้โดยปราศจากกลิ่นคาวและความเหนียว จนคนยกให้เป็นเมนูแกะย่างที่อร่อยที่สุด ซึ่งนอกจากนี้เมนู เจงกิสข่าน ยังมีประวัติความเป็นมาและเรื่องราวอีกมากที่ค่อนข้างน่าสนใจ ไว้เราจะมาพาทุกท่านไปเจาะลึกกันในบทความแยกอีกทีนะครับ
- คิตะคาตะ ราเมง จังหวัด ฟุคุชิมะ คือ ราเมงสูตรท้องถิ่นประจำจังหวัดฟุคุชิมะ ที่มีจุดเด่นอยู่ที่เส้นจะเป็นแบบหยักและมีความหนา ส่วนตัวน้ำซุปที่ใช้ส่วนมากก็จะใช้เป็นน้ำซุปโชยุเป็นหลัก เป็นราเมงที่มีต้นกำเนิดมาจาก ชินะโซบะ หรือ โซบะจีน ที่จะขายอยู่ตามรถเข็นและแผงลอย ส่วนสาเหตุที่ทำให้ราเมงของที่นี่กลายเป็นอาหารขึ้นชื่อสุดโด่งดังนั้น เกิดขึ้นเมื่อปี 1920 ที่เมืองคิตะคาตะนี้ เป็นเมืองที่ค่อนข้างรุ่งเรืองในเรื่องของธุรกิจการกลั่นมาก ๆ ตั้งแต่ มิโสะ , โชยุ หรือ แม้กระทั่งสาเก จึงทำให้ที่แห่งนี้มีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากแห่มาที่เมืองนี้ และ ทำให้คิตะคาตะ ราเมง แสนอร่อยชามนี้เป็นที่รู้จักในเวลาอัดรวดเร็ว จนในปัจจุบันทำให้เมืองคิตะคาตะ ของ ฟุคุชิมะ เป็นสถานที่ที่มีร้านราเมงเยอะเป็นอันดับ 1 ของประเทศญี่ปุ่น
- โทวาดะ บาระยากิ จังหวัด อาโอโมริ คือ เมนูอาหารท้องถิ่นของเมือง โทวาดะ ที่มีต้นกำเนิดมาจากช่วยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเกิดขึ้นในฐานทัพอเมริกา ของ เมืองมิซาวะ ในปี 1950 เป็นการน้ำส่วนซีโครงของเนื้อวัวมาย่าง ก่อนจะนำไปปรุงรสกับซอสโชยุ และ หอมหัวใหญ่ จากนั้นนำไปผัดหรือย่างบนกระทะเหล็กอีกที จนกลายเป็นอาหารประจำค่ายที่ทำง่ายและอร่อยมาก ๆ และ ทำให้เมืองโทวาดะ ที่อยู่ข้าง ๆ กันนั้น ได้รับอิทธิพลความอร่อยที่ถูกส่งต่อมา จนกลายมาเป็นอาหารขึ้นชื่อประจำเมืองไปนับตั้งแต่ตอนนั้น จนปัจจุบัน ณ ที่แห่งนี้ ก็มีร้าน บาระยากิ อยู่มากกว่า 80 ร้านเลย
- กิวทัง ยากิ จังหวัด มิยากิ คือ เมนูลิ้นวัวย่างแสนอร่อยสุดชุ่มฉ่ำประจำเมือง ที่ปรุงรสด้วยซอสสูตรพิเศษก่อนจะนำมาย่าง เป็นเมนูอาหารที่ถูกคิดค้นขึ้นหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนญี่ปุ่นเริ่มมีการรับประทานเนื้อวัวกันมากขึ้น ทำให้ในเขตเมืองเซนได มีร้านที่คิดค้นการนำสัดส่วนต่าง ๆ ของวัว มาทำเมนูที่แปลกใหม่อยู่เสมอ จนทำให้ผู้คนเริ่มชอบ เมนูลิ้นวัวย่างกันมากขึ้น
- โมริโอกะ เรเมง จังหวัด อิวาเตะ คือ ราเมงเวอร์ชั่นท้องถิ่นของจังหวัด อิวาตะ ที่ทำมาจากเส้นสูตรพิเศษสุดเหนียวนุ่มสีออกใส ๆ เล็กน้อย โปะด้วยกิมจิ , ไข่ต้ม และ แตงกวา พร้อมราดมาด้วยน้ำซุปเย็นที่ทำจาก เนื้อวัวกับกระดูกไก่ เป็น ราเมง ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดยเชฟชาวเกาหลี ที่อยากนำกิมจิกับแตงกวาดองมาใส่ในราเมง และ ใช้เส้นสีใสที่ทำมาจากแป้งสาลี เพื่อให้ใกล้เคียงกับอาหารของบ้านเกิดที่สุด เป็นหนึ่งในสาม สุดยอดเมนูเส้นของ เมืองโมริโกอะ
- คิริทันโปะ จังหวัด อาคิตะ คือ เมนูข้าวเสียบไม้ย่าง ฟังดูก็อาจจะงง ๆ ว่าทำได้ด้วยหรอ ก็อารมณ์คล้าย ๆ กับข้าวจี่บ้านเรา แต่ที่นี้จะใช้เป็นข้าวจ้าวหุงสุกสายพันธ์ญี่ปุ่นที่มีความเหนียวนุ่มและจับตัวเล็กน้อย นำไปพันกับไม้สน ก่อนนำไปย่างด้วยเตาถ่าน พร้อมทาด้วยมิโสะ เกิดขึ้นจากการนำข้าวที่เหลือมาแปะเข้ากับไม้ยาว ๆ แล้ว นำไปย่างทานคู่กับเมนูต่าง ๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารท้องถิ่นที่ทานคู่กับอะไรก็อร่อย
- อิโมะนิ จังหวัด ยามากาตะ คือ ต้มเผือก เป็นเมนูนาเบะชนิดนึงของประเทศญี่ปุ่น ที่นำเผือกลงไปต้มในหม้อไฟร่วมกับคอนยัคกุ หรือ บุกญี่ปุ่น กับ เครื่องเคียงต่าง ๆ อีกมากมาย จนกลายเป็นหม้อไฟเผือกแสนอร่อย ซึ่งนอกจากนี้ยังใส่วัตถุดิบท้องถิ่นลงไปด้วยอีกมากมาย เช่น เห็ด , ต้นหอม , รากโกโบ และ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ติดกับทะเล จะนิยมใช้เป็นเนื้อวัวกับน้ำซุปโชยุ แต่ถ้าติดทะเลจะเป็นน้ำซุปแบบมิโสะกับหมู เป็นส่วนใหญ่ เป็นเมนูอาหารสัญลักษณ์ประจะ ฤดูใบไม้ล่วงของจังหวัด ยามากาตะ
- มิโตะนัตโตะ จังหวัด อิบารากิ คือ ถั่วหมัก เป็นอาหารท้องถิ่นสุดขึ้นชื่อของประเทศญี่ปุ่น ที่มีต้นกำเนิดมาจากเมืองมิโตะ ของจังหวัด อิบารากิ ที่เป็นแหล่งธุรกิจถั่วนัตโตะอันดับหนึ่งของประเทศมาอย่างยาวนาน จนในปี 1889 ก็ทำให้ถั่วนัตโตะเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก โดยในเวลานั้นเป็นยุคสมัยมีธุรกิจรถไฟเข้ามาพอดิบพอดี ทำให้มีการวางจำหน่ายถั่วนัตโตะ และ ถั่วหมัก ถูกนำมาวางจำหน่ายกันที่สถานนีรถไฟ จนกลายเป็นของฝากประจำเมือง และ กลายเป็นอาหารขึ้นชื่อประจำชาติที่มีขายอยู่ทั่วทุกที่ได้ในที่สุด
- มิซึซาวะอุด้ง จังหวัด กุนมะ คือ อุด้งสุดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานมากกว่า 400 ปี เป็นอุดุ้งแบบเดียวกับ ซานุกิ อุด้ง ที่จะเสิร์ฟมาแบบแยก เส้นกับน้ำซอส และ เครื่องเคียงออกจากกัน แต่เส้นที่ใช้นั้นจะทำมาจากแป้งสาลี ที่ผสมเพียงแค่เกลือกับน้ำเท่านั้น ทำให้เส้นมีความนุ่มเหนียวและอวบอ้วนมากเป็นพิเศษ และ น้ำซอสทสึยุที่ใช้ ก็ยังเป็นสูตรพิเศษที่มีให้เลือก 2 แบบ คือ ซอสงา กับ ซอสโชยุ
- อุตสึโนะมิยะเกี๊ยวซ่า จังหวัด โทชิกิ เกี๊ยวซ่า คือหนึ่งในเมนูอาหารที่เหล่าทหารของเมืองอุตสึโนะมิยะ ที่ได้สูตรเกี๊ยวซ่าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนมา จากที่ได้ถูกส่งตัวไปทำสงคราม และ พอกลับมาก็กลับมาเปิดร้านเกี๊ยวซ่าที่มีรสชาติเดียวกับของประเทศจีนที่เคยทานมา โดยเกี๊ยวซ่าที่ทางร้านนี้ใช้ก็จะเป็นไส้ผักเป็นหลัก และ มาพร้อมกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษรสเปรี้ยวเผ็ด ที่ทำจากน้ำส้มสายชูและน้ำมันพริก ซึ่งความอร่อยของเกี๊ยวซ่าที่นี่ ทำให้ผู้คนภายในเมืองชื่นชอบกันเป็นอย่างมาก จนทำให้เมือง ๆ นี้ มีแต่ร้านเกี๊ยวซ่าอยู่เต็มไปหมด และ ถูกยกให้เป็นเมืองแห่งเกี๊ยวซ่าในที่สุด ซึ่งในปัจจุบัน ณ ที่แห่งนี้ก็มีร้านเกี๊ยวซ่ามากกว่า 200 ร้าน และ เป็นเมืองที่มียอดขายเกี๊ยวซ่ามากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศญี่ปุ่น
สรุป
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับ 10 เมนูแรกที่เราหยิบมาให้ทุกท่านได้รับชมกันผ่าน บทความ อาหารท้องถิ่นแสนอร่อยประจำ 47 จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น ที่ถูกยกให้เป็นของดีประจำเมือง EP.1/5 เรื่องนี้ มีเมนูไหนที่เคยไปทานกันบ้างแล้วหรือป่าว ส่วนในตอนหน้าจะมีเหลืาเมนูเด็ดประจำจังหวัดของประเทศญี่ปุ่น แบบไหนมาให้ชมกันอีก ติดตามต่อกันใน Ep 2 นะครับ