สำหรับหลาย ๆ คนที่เป็นคออาหารญี่ปุ่น ก็คงจะเคยเห็นขนมญี่ปุ่นกันมาบ้างไม่ว่าจะเป็นขนมพื้นเมือง ที่มีรูปร่างหน้าตาแปลก ๆ ไปจนถึงขนมสมัยใหม่ที่มีรูปร่างสุดสร้างสรรค์ แต่ถ้าพูดถึงขนมขึ้นชื่อและพบเห็นบ่อยมากที่สุดเลย ก็ต้องยกให้กับขนมเสียบไม้ย่าง ที่มีหน้าตาเหมือนกับลูกชิ้นของบ้านเราวางขายอยู่เต็มข้างทางไปหมด ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับ ดังโงะ ขนมพื้นบ้านที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานานนับร้อยปี รูปแบบนี้กันครับ ว่ามีประวัติความเป็นมาเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร ทำไมถึงกลายมาเป็นขนมพื้นเมืองของคนญี่ปุ่นมาได้อย่างช้านาน จนมาในปัจจุบันนั้นก็มีขนมดังโงะให้เลือกรับประทานกันอยู่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ทุกท่านได้รูกจักกับขนมพื้นเมืองชนิดนี้อย่างถูกต้องที่สุด เราจึงได้รวบรวมเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับ ขนมดังโงะ กันครับ พร้อมพาไปดูขนมดังโงะ ทุกรูปแบบอีกด้วย ยิ่งถ้าคุณชื่นชอบขนมญี่ปุ่นประเภทนี้ก็ต้องห้ามพลาดเลย ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นเราไปรับชมกันเลยครับ
ดังโงะ คืออะไร
- ดังโงะ หรือ Dango คือ ขนมทรงกลมที่ทำมาจากแป้งสาลี แล้วน้ำไปนิ่งหรือต้มจนสุก ก่อนที่จะนำไปปิ้ง และ ราดซอสกับเครื่องเคียงอีกที ตัวขนมจะมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มหนึบ ถ้าใครที่นึกภาพไม่ออก ให้นึกถึงขนม โมจิ กับ ไดฟูกิ ที่จะมีสัมผัสนุ่มนิ่มคล้ายกัน แต่ขนมดังโงะจะแตกต่างจากขนมทั้ง 2 อย่างมาก ๆ โดยเฉพาะในเรื่องของส่วนผสม ที่จะใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นหลัก ซึ่งขนมทั้ง 2 นั้นต่างออกไปดังนี้ สำหรับขนมโมจิจะทำมาจากข้าวเหนียวที่เพิ่งหุงสุกใหม่ ๆ มาตำในครกไม้จนกลายเป็นแป้ง ส่วนไดฟูกุก็คือการนำแป้งโมจิมาต่อยอดอีกขั้นหนึ่งโดยการใส่ไส้ต่าง ๆ เข้าไป แต่ดังโงะนั้นจะทำมาจากแป้งสาลีล้วน ๆ ซึ่งวิธีการทำขนมดังโงะให้สุกก่อนนำไปปิ้งก็จะมีอยู่ 2 วิธีได้แก่
- การนึ่ง โดยจะใช้เวลาอยู่ที่ประมาณ 30-60 นาที ซึ่งดังโงะบางประเภทก็จะมีการนำส่วนผสมจากแป้ง ชิระทะมะโกะ ลงไปเป็นส่วนผสมด้วยเพื่อเพิ่มความแน่นให้กับตัวเนื้อขนม ก่อนที่จะนำไปเสียบไม้ปิ้งนั่นเอง
- การต้ม สำหรับการต้มนี้ก็จะใช้เวลาอยู่ที่เวลา 3-5 นาทีเท่านั้น ตัวดังโงะที่ผ่านการต้มจะมีความชุ่มฉ่ำของน้ำมากกว่าแบบนึ่ง โดยดังโงะที่นำมาต้นนั้นส่วนมากจะเป็นแบบที่ใช้แป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียวแบบอบพิเศษ หรือ แป้ง ชิระทามาโกะ ในอัตราส่วนที่เท่ากันแบบ 50:50 ซึ่งดังโงะในรูปแบบนี้จะนิยมทานกันเลย และ ไม่นิยมนำไปย่างต่อ
- สำหรับต้นกำเนิดของขนมดังโงะ อย่างที่กล่าวเอาไว้ข้างต้นว่าดังโงะเป็นขนมโบราณเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานานร่วมร้อยปี ซึ่งนักโบราณคดีคนญี่ปุ่นต่างก็เชื่อกันว่า ขนมดังโงะนั้นมีพื้นฐานต้นกำเนิดมาจาก ขนมโมทกะ หรือ ขนมโมทัก ที่เป็นของหวานจากประเทศอินเดีย ที่ใช้เป็นของถวายประกอบพิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ที่ถูกเล่าขานและบันทึกเอาไว้ตั้งแต่ในช่วย ศตวรรตที่ 10 ซึ่งในช่วงนั้นขนมดังโงะก็เริ่มเข้ามามีบทบาทกลายเป็นของว่าง และ ขนมทานเล่นของเหล่าบรรดาขุนนางชนชั้นสูงในสมัยก่อน จึงไม่แปลกที่เรามักจะเห็นขนมรูปแบบนี้อยู่ในบันทึก หรือ หนังสือประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นอยู่มากมาย สาเหตุที่ในสมัยก่อนต้องจำกัดไว้ถวายเฉพาะขุนนางกับชนชั้นสูงในประเทศ ก็เพราะตัวแป้งข้าวเจ้านั้นไม่ได้หาได้ง่าย ๆ เหมือนในปัจจุบัน จึงกำเนิดการนำส่วนผสมอื่นมาทำเป็นดังโงะอีกมากมาย ตั้งแต่ ข้าวบาเลย์ , ข้าวสาลี , ข้าวโพด , ถั่ว , มันหวาน หรือ แม้กระเท่าเกาลัดเอง ก็เคยมีคนเอามาทำเป็นดังโงะด้วยเช่นกัน จึงทำให้ในปัจจุบันนี้มีชนิดของดังโงะที่เพิ่มเข้ามามากมายหลากหลายมากขึ้น ซึ่งยังมีอีกบางตำนานที่เล่าว่าการที่ขนมดังโงะนั้นได้ถูกนำไปกระกอบพิธีกรรมทางศาสนา เกิดขึ้นมาจากร้านน้ำชาเล็ก ๆ ในเมืองเกียวโต ที่ตั้งอยู่ข้าง ๆ ศาลเจ้า Shimogamo ที่ว่ากันว่ารูปทรงกลมของขนมนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากฟองอากาศบริเวณรอบ ๆ ของบ่อน้ำบริสุทธิ์ในศาลเจ้านั่นเอง โดยในอีกตำนานนึงก็เล่ากันว่าเดิมที่ขนมดังโงะเป็นขนมที่ใช้บูชาเทพธิดาในศาลเจ้าด้วยเช่นกัน จึงเป็นเหตุที่ในแต่ละเมืองนั้นมักจะเต็มไปด้วยขนมดังโงะมาจนถึงปัจจุบัน แถมยังมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นกว่าในอดีตอีกหลายรูปแบบเลย ซึ่งขนมดังโงะจะมีทั้งหมดกี่แบบบ้างนั้น เราไปรับชมกันในบรรทัดถัดไปได้เลย
ดังโงะ มีกี่รูปแบบ
- มิตาราชิดังโงะ Mitarashi dango คือดังโงะต้นตำหรับแบบเสียบไม้ ที่ราดด้วยซอสรสหมานเค็มจาก โชยุและน้ำตาล ซึ่งเดิมที่ขนมดังโงะแบบ มิตาราชิดังโงะนั้น จะทำขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของผู้คนในการเคารพบูชาเทพเจ้าและเทพธิดาของคนญี่ปุ่น โดยใน 1 ไม้ จะมีทั้งหมด 5 ลูก โดยที่ลูกบนสุดจะหมายถึงส่วนศีรษะ ส่วน 2 ลูกถัดมาจะเปรียบเสมือนแขนทั้ง 2 ข้าง ส่วน 2 ลูกด้านล่าง ก็จะเปรียบเสมือนขานั่นเอง และ เดิมที่ก็จะเป็นแบบ 3 สี ที่จะมี สีแดง , สีขาว และ สีเขียว แต่ในปัจจุบันก็ได้กลายมาเป็นรูปร่างหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันทั่ว ๆ ไป หรือ ในภาพด้านบน
- ฮานามิดังโงะ Hanami Dango หรือ จะเรียกว่าดังโงะ 3 สี ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด ซึ่งดังโงะชนิดนี้จะนิยมใช้รับประทานกันในเทศการชมดอกไม้ของประเทศญี่ปุ่น ที่ทำให้คนญี่ปุ่นพูดกันจนเป็นสำนวนว่า Hana Yori Dango หรือ กินดังโงะดีกว่าชมดอกไม้ ก็หมายถึงการกินนั้นอิ่มท้องมากกว่าการชมสิ่งที่สวยงามที่ไม่นานก็ผ่านไปนั่นเอง ส่วนความหมายของแต่ละสี ก็จะมีดังนี้ ซึ่งสีชมพูจะสื่อถึง ดอกซากุระและพระอาทิตย์ของประเทศญี่ปุ่น ส่วนสีขาว ก็จะสื่อถึงหิมะและข้าวที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนสีเขียวก็จะสื่อถึงต้นไม้ป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศ
- อังโกะดังโงะ (Anko dango) อังโกะดังโงะจะเป็นดังโงะที่ราดด้วยถั่วแดงบนหรือถั่วแดงกวน โดยจะเสิร์ฟมาพร้อมกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษสำหรับในบางร้าน และ บางร้านก็จะใช้เป็นดังโงะสีเขียวราดด้วยถั่วแดงให้เลือกด้วยเช่นกัน
- โยโมงิดังโงะ Yomogi dango คือ ดังโงะที่ทำมาจากใบโยมิ จนเนื้อกลายเป็นสีเขียว จนทำให้พืชตระกูลหญ้าอย่างโยรินั้นถูกเรียกว่าหญ้าดังโงะไปด้วย โดยดังโงะประเภทนี้จะนิยมนำไปทานกับซอส หรือ ไม่ก็ราดด้วยถั่วแดง
- สึคิมิดังโงะ (Tsukimi dango) ดังโงะอีกหนึ่งชนิดที่นำไปใช้ประกอบพิธีกรรมในเทศกาลไหว้พระจันทร์ โดยจะมีจุดเด่นที่การจัดวางจะวางเป็นรูปทรงแบบพีรมิดเท่านั้น โดยส่วนมากจะใช้เป็นดังโงะสีขาว 15 ลูก แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ที่จะใช้สีดังโงะ , จำนวน , และ ท็อปปิ้งที่แตกต่างกันออกไป
- ชิราทามะดังโงะ Shiratama Dango คือ ดังโงะแบบต้มที่เรากล่าวเอาไว้ด้านบน ที่นำแป้งข้าวเจ้ามาผสมกับแป้งข้าวเหนียว หรือ แป้งชิราทามะ พร้อมราดด้วยเครื่องต่าง ๆ บ้างก็ราดด้วยน้ำซอสโชยุ ถั่วแดง หรือ ในบางที่ก็นำไปจัดเป็น Set ไอศกรีมเลยก็มี
สรุป
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับเรื่องราวของขนมพื้นเมืองของชาวญี่ปุ่นที่ไม่ว่าไปที่ไหนก็ต้องเจออย่างขนมดังโงะ ที่เราได้มานำเสนอข้อมูลทั้งหมดให้ทุกท่านผ่านบทความ ดังโงะ ขนมพื้นบ้านที่อยู่คู่กับคนญี่ปุ่นมานานนับร้อยปี เรื่องนี่ หวังว่าผลงานของเราเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านทุกท่านได้ และ ช่วยคลายความสงสัยเกี่ยวกับขนมดังโงะแต่ละประเภทได้ แถมเมนูนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ถ้าคุณได้ไปประเทศญี่ปุ่นแล้วยังไม่ได้ลอง ก็เหมือนกับว่ามาไม่ถึงเลย และ สำหรับวันนี้ก็ต้องขอตัวลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความครั้งหน้า