เชื่อว่าใครที่เข้ามาอ่านบทความของเราก็ต้องเคยเห็นเมนูเสียบไม้ต้มจากญี่ปุ่นกันมาบ้าง ไม่ว่าจะทั้งจากการไปเที่ยว หรือ เห็นจากรายการอาหารในสื่อบันเทิงต่าง ๆ ก็มักจะมีเมนูนี้แวะเวียนมาให้ชมกันเสมอ ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ โอเด้ง เมนูยอดฮิตยามฤดูหนาวอันยาวนานของชาวญี่ปุ่น ที่ถ้าจะเรียกว่าโอเด้งต้องถูกต้มเท่านั้น ซึ่งเมนูนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูอาหารอันเก่าแก่ของชาวญี่ปุ่นที่นิยมรับประทานกันมาอย่างยาวนาน จนในปัจจุบันนั้นได้แพร่หลายและถูกนิยมมากขึ้นจากนักท่องเที่ยว จนนำมาเปิดสาขาในประเทศของตัวเองกันเลยก็มี ซึ่งในประเทศไทยเรานั้นก็ไม่พลาดที่จะมีร้านโอเด้งที่ขายเฉพาะโอเด้งเท่านั้นก็มีด้วยเช่นกัน ซึ่งเมนูนี้จะมีรายละเอียดและประวัติความเป็นมาอย่างไรบ้างเราไปรับชมพร้อม ๆ กันเลย
โอเด้ง คืออะไร
- สำหรับโอเด้ง หรือ Oden ถูดจัดประเภทให้เป็น นาเบะ หรือ หม้อไฟของญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง ที่จะโดดเด่นมากับน้ำซุปปลาแห้งและสาหร่ายคอมบุ พร้อมนำวัตถุดิบนานาชนิดแบบนับไม่ถูกลงมาต้มในน้ำซุป จนรสชาติความหอมหวานของน้ำซุปน้ำซึมเข้าไปในตัววัตถุดิบที่ใส่ลงไป ซึ่งอาหารประเภทนี้ก็จะมีจุดกำเนิดมาตั้งแต่ยุค มุโระมาจิ ตั้งแต่ในสมัย ค.ศ.1336-1573 จะเป็นการนำบุกกับเต้าหู้ไปเสียบไม้แล้วลงไปต้มในน้ำซุปจนวิวัฒนาการมาเป็นโอเด้งในปัจจุบัน ที่จะใช้เป็นเมนูคลายหนาวของคนญี่ปุ่น เมื่อประเทศเข้าสู่ฤดูหนาว ซึ่งถ้าใครเคยไปเที่ยวในช่วงฤดูหนาวของญี่ปุ่นก็จะสามารถพบเห็นโอเด้งวางขายกันอยู่เต็มเป็นหมดจนแทบจะทุกพื้นที่ ที่ไม่ทานก็คงหนาวสั่นจนเที่ยวไม่สนุกแย่ ส่วนวัตถุดิบอันล้นชามของโอเด้งนั้นจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และ แต่ละพื้นที่นั้นจะใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันเหมือนเมนูอื่น ๆ หรือไม่ ก็ต้องไปหาคำตอบกันในบรรทัดถัดไปได้เลยครับ
ส่วนผสมของโอเด้ง
- หัวไชเท้า คือวัตถุดิบที่อยู่คู่กับโอเด้งมาโดยตลอด เพราะว่าตัวหัวไชเท้านี้เป็นวัตถุดิบที่ดูดซับน้ำซุปเอาไว้ได้ดี ทำให้เรากัดลงไปก็จะได้รสชาติที่กลมกล่อมของน้ำซุปไปด้วยในทุกครั้ง เหมือนกับซดน้ำซุปไปด้วยเลย จึงเป็นวัตถุดิบที่โอเด้งนั้นขาดไม่ได้มาตลอด
- ไข่ หรือ ไข่ต้ม ก็เป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่อยู่คู่กับโอเด้งมาตลอดเช่นกัน ยิ่งถ้าเราผ่าครึ่งลงไปต้มในน้ำซุปด้วยนั้น จะทำให้ไข่แดงละลายไปกับน้ำซุปช่วยให้ได้รสชาติที่กลมกล่อมของไข่แดงผสมลงไปด้วย แถมตัวไข่ขาวก็ยังคอยดูดซับรสชาติจากน้ำซุปได้อย่างดีด้วย
- คอนเนียคุ หรือ บุก เป็นวัตถุดิบอีกหนึ่งชนิดของเมนูโอเด้งที่อยู่กับเมนูนี้มาตั้งแต่อดีต เป็นวิตถุดิบที่มีแคลอรี่ต่ำ เพราะมีส่วนประกอบของน้ำมากถึง 97% เลย
- ชิคุวะ คือ เนื้อปลาบดย่างหรือนิ่ง ก่อนที่จะนำมาต้มในโอเด้งอีกที แถมวัตถุดิบชนิดนี้ยังช่วยชูรสชาติให้น้ำซุปกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น
- โมจิคินจาคุ คือ แป้งโมจิที่ถูกห่อด้วยเต้าหู้ทอด ที่มีหน้าตาคล้ายกับถุงกระสอบ เป็นวัตถุดิบอีกหนึ่งอย่างที่นุ่มละลายในปากมาก ๆ
- ฮันเปน คือ ปลาเนื้อขาวบดผสมมันเทศที่นำไปนิ่งจนนุ่มฟูมาแล้ว เมื่อนำไปต้มยิ่งนุ่มละลายลิ้นมาก ๆ
- สึคุเนะ คือ เนื้อไก่สับที่นำไปชุบไข่กับเครื่องเทศต่าง ๆ เป็นวัตถุดิบที่ช่วยดันรสชาติของน้ำซุปให้มีความลึกซึ้งขึ้นไปอีก
- กิวซุจิ คือ เนื้อเอนวัว หรือ ส่วนของเนื้อน่องติดเอน ซึ่งความเข้มข้นของเนื้อนั้นจะช่วยให้น้ำซุปมีรสชาติโดดเด่นขึ้นไปอีก ยิ่งต้มนานยิ่งทำให้น้ำซุปอร่อย
- สาหร่ายคอมบุ เป็นเมนูที่ขาดไม่ได้เช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงเพราะนอกจากจะช่วยให้น้ำซุปอร่อยยังมากับ แคลอรี่ 0 อีกด้วย
- กันโมโดกิ คือเต้าหู้ทอดผสมสาหร่ายกับผัก พอเมื่อได้รสชาติน้ำซุปของโอเด้งซึมเข้าไปในเนื้อแล้วจะได้รสชาติที่อร่อยมาก ๆ
- ซัตสึมะอาเกะ คือ เนื้อปลาบดทอด เป็นวัตถุดิบขึ้นชื่อของจังหวัดคาโกชิมะ ที่ทานป่าว ๆ ยังอร่อย พอลงไปอยู่ในหม้อโอเด้งก็ยิ่งอร่อยเข้าไปอีก
- ชิวาทากิ คือ คอนเนียคุที่ถูกหั่นให้มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ นั่นเอง
- โรลแคบเบจ คือ กะหล่ำแบบม้วน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบของชาติตะวันตกที่เข้ากับน้ำซุปของโอเด้งมาก ๆ จึงเป็นอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรพลาด
- มาดาโกะ หรือ ปลาหมึกสายพันธุ์หนึ่งที่นิยมนำมาทานกับโอเด้งมาก ๆ เป็นวัตถุดิบที่ทั้งช่วยชูรสชาติของน้ำซุป และ ยังดูดซับรสชาติของน้ำซุปเข้ามาในเนื้อได้ดีอีกด้วย
- ไส้กรอก กับ ลูกชิ้น คือวัตถุดิบที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับโอเด้ง เพราะนอกจากจะเป็นวัตถุดิบสากลที่ทุกคนเข้าใจง่ายแล้ว เมื่อถูกต้มในโอเด้งก็จะได้รสชาติของน้ำซุปที่ซึมเข้าไปในเนื้อไส้กรอกได้อย่างชุ่มฉ่ำ
- ชิคุวาบุ คือ แป้งสาลีที่ทำขึ้นจากโปรตีนกลูเตนไปผสมกับผงแป้ง หลังจากนั้นจะนำไปต้มหรือนึงเพื่อให้แข็งตัวเป็นรูปทรง เดียวกับชิคุวะ โดยวัตถุดิบชนิดนี้จะพบเจอได้ในแทบภูมิภาคคันไซเท่านั้น โดยจะมีรสสัมผัสที่เหนียวนุ่ม
- สึมิเระ คือ ลูกชิ้นเนื้อปลาบด ที่จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหมูสับ แต่จะทำมาจากปลาอิวาชิ , ปลาซาบะ , และ ปลาอาจิ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาสูงที่สุดของวัตถุดิบประเภทปั้น ในโอเด้ง
- โกโบมากิ คือ การนำเต้าหูทอดแบบซัตสึมะอาเกะ ไปพันกับโกโบ จะให้รสสัมผัสที่กรุบกรอบเหมาะกับการเคี้ยว แถม ยิ่งถ้าต้มนานก็จะยิ่งได้รสชาติของน้ำซุปซึมเข้าไปมากขึ้น และ ช่วยให้รสชาติของวัตถุดิบซึมออกมาปนกับน้ำซุปด้วย
- มันฝรั่ง คือ วัตถุดิบหลักที่จะขาดไม่ได้เช่นเดียวกับหัวไชเท้า เพราะตัวมันฝรั่งนั้นยิ่งต้มนานเท่าไร ตัวมันก็จะยิ่งนุ่มและมีรสชาติที่เข้มข้นขึ้นจากน้ำซุป
- คาชิมากิทามาโกะ คือ ไข่ม้วนญี่ปุ่นแบบที่ทำมาเพื่อเมนูโอเด้งโดยเฉพาะ ที่เมื่อเรานำวัตถุดิบชนิดนี้ลงไปแล้ว ตัวไข่ที่ทำมาให้นุ่มฟูนี้ก็จะคอยดูซับรสชาติจากน้ำซุปโอเด้งเข้าไปแบบที่เยิ้มออกมาจากเนื้อไข่เลย ซึ่งเรื่องของความชุ่มฉ่ำนั้นก็ไม่ต้องพูดถึง
ส่วนผสมอื่น ๆ และ เครื่องเคียงของ โอเด้ง
- เส้นอุด้ง เป็นอีกหนึ่งเครื่องเคียงชั้นดีของโอเด้ง เพราะด้วยความหนานุ่ม และ คุณสมบัติที่ไม่ชุ่มน้ำของเส้นโอเด้งจึงเหมาะกับการนำไปจุ่มในหม้อโอเด้งและนำขึ้นมารับประทานได้ แบบที่ไม่ต้องกลัวเส้นละลายเลย
- ยูสุโคโช คือ เครื่องปรุงรสเด็ดที่ทำมาจากส้มยูสุ จะมีรสชาติที่หอมปนความเผ็ดร้อน ผสมเค็มปลาย ๆ อีกเล็กน้อย
- ชิจิมิ คือ พริก 7 รส เหมาะสำหรับคนที่ขาดความเผ็ดไม่ได้
- เนริการาชิ หรือ ซอสมัสตาร์ดแบบญี่ปุ่นที่มีรสชาติเปรี้ยวเผ็ด กับกลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นซอสอีกหนึ่งอย่างที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบทานกับโอเด้งมาก ๆ
- ซอสมิโสะแดง คือ ซอสที่มีรสชาติหวานเค็ม และ เป็นอีกหนึ่งเครื่องปรุงที่ค่อนข้างหาได้ยาก ยิ่งถ้าเจอเมื่อไรก็ควรต้องลอง
สรุป
เป็นยังไงกันบ้างครับ เชื่อว่าหลังจากที่ทุก ๆ ท่านได้อ่าน บทความ โอเด้ง เมนูยอดฮิตยามฤดูหนาวอันยาวนานของชาวญี่ปุ่น ของเราในครั้งนี้แล้ว จะช่วยทำให้ทุกท่านได้รู้จักกับเมนู โอเด้ง กันมากขึ้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งเมนูยอดนิยมที่คุ้มค่ากับการรับประทานไม่แพ้ ชาบู หรือ นาเบ รูปแบบอื่น ๆ เลย และ ยิ่งในปัจจุบันนี้อิทธิพลของเมนูโอเด้ง ก็ได้เข้ามาถึงประเทศไทยเรียบร้อยโดยถ้าใครอยากทานก็หาร้านได้ไม่ยากแล้ว ซึ่งเราจะพาทุกท่านไปรับชมกันในครั้งหน้านะครับ ส่วนในวันนี้ก็ต้องขอตัวลาไปก่อนแล้วพบกันใหม่ในบทความครั้งหน้า สวัสดีครับ
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ไฮโลไทย