ซาสะดังโงะ (笹団子) ขนมพื้นเมือง ของดีชาวนีงาตะ ในประเทศญี่ปุ่น

ซาสะดังโงะ (笹団子) ขนมพื้นเมือง ของดีชาวนีงาตะ ในประเทศญี่ปุ่น

ถ้าเราจะพูดถึงขนมพื้นเมือง แน่นอนค่ะทุกประเทศต้องมีกันทุกที่แน่นอนขึ้นอยู่กับจังหวัดภูมิภาคที่เราอยู่ อย่างขนมไทยที่ขึ้นชื่อของภาคกลางที่บ้านเรานั้นน่าจะเป็น ทองหยิบ ทองหยอด บัวลอยข้าวต้มมัดไส้กล้วย ที่เป็นขนมพื้นบ้านที่ขึ้นชื่อของไทย แล้วทุกคนรู้ไหมค่ะว่าที่ญี่ปุ่นก็มีขนมพื้นบ้านของจังหวัดนีงาตะ ในประเทศญี่ปุ่น เหมือนกันค่ะ แอดเลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ “ซาสะดังโงะ (笹団子) ขนมพื้นเมือง ของดีชาวนีงาตะ ในประเทศญี่ปุ่น” ที่จัดว่ามีการนำวัตถุดิบจากธรรมชาติ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นขนม ไปดูกันค่ะว่าขนมซาสะดังโงะเป็นแบบไหน ไปอ่านกันเลย ขนมซาสะดังโงะ (笹団子) คืออะไร ซาสะดังโงะ เป็นขนมที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียวและแป้งที่ทำจากข้าวอุรุจิ ดังโงะอยู่ในหมวดวากาชิ ที่ทานพร้อมกับชาเขียวร้อน  ซึ่งมี 2 รากศัพท์ที่ให้ความหมาย คือคำว่า ซาสะ คือ ชื่อของใบไผ่ชนิดหนึ่งที่เขาใช้ห่อขนมในสมัยเอโดะ ส่วนคำว่า ดังโงะ คือชื่อของขนมขนมจีบญี่ปุ่นหรือเค้กข้าวของญี่ปุ่น เป็นขนมพื้นบ้านที่มีมานานหรือถ้าจะแปลง่ายๆ ซาสะดังโงะ เค้กข้าวที่ห่อด้วยใบไผ่ค่ะ เป็นขนมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนีงาตะ ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการปลูกข้าว รวมไปถึงสาเกเหล้าสาญี่ปุ่นที่ใช้ข้าวหมัก ข้าวเกรียบข้าวเซมเบ้ เพราะเป็นจังหวัดที่ถือว่าปลูกได้สวยแถมรสชาติของข้าวยังเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย ที่มาของ ซาสะดังโงะ (笹団子) ซาสะดังโงะ มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (1603–1868) ซึ่งเป็นการคิดค้นการเก็บรักษาแป้งดังโงะ ไว้สำหรับการเดินทางและจะทำยังไงให้เก็บแป้งได้ยาวนาน ซึ่งหลายทฤษฎีมากในการเก็บรักษาเจ้าซาสะดังโงะ  เมื่อสัก 400 […]